JMT บริษัทรับจ้างติดตามหนี้ และซื้อหนี้เน่าจากสถาบันการเงินมาบริหารบริษัทลูกของเจมาร์ทเตรียมเสนอขายหุ้นนำบริษัท เข้าซื้อขายในตลาดหุ้น ปลาย พ.ย.นี้ มั่นใจนักลงทุนสนใจจองซื้อเหตุธุรกิจมีกำไรขึ้นต้นสูง จ่ายปันผลดีและโอกาสธุรกิจเติบโตดี

เมื่อวันที่ 22 ต.ค. นายปิยะ พงษ์อัชฌา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจเอ็มที เน็ตเวิร์คเซอร์วิสเซ็ส (JMT) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบมจ.เจมาร์ท (JMART) ที่ทำธุรกิจรับจ้างติดตามหนี้และซื้อหนี้จากสถาบันการเงินมาบริหาร เปิดเผยว่า บริษัทจะเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป ครั้งแรก (IPO) จำนวน 75 ล้านหุ้น ในช่วงกลางเดือน พ.ย. นี้และคาดว่าจะนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ปลายเดือน พ.ย. และหลัง JMT เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว JMART จะลดสัดส่วนการถือหุ้นใน JMT ลงเหลือ 75% จากเดิมที่ถือทั้ง 100%

สำหรับการดำเนินธุรกิจของ JMT แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. การรับจ้างเร่งรัดติดตามหนี้ทั้งหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลจากธนาคารและ สถาบันการเงินอื่น วงเงินหนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท 2. การซื้อหนี้เสียจากสถาบันการเงิน (NPL) มาบริหารมีวงเงินหนี้ราว 20,000 ล้านบาท และ 3. ปล่อยสินเชื่อรถยนต์ส่วนบุคคลใน กทม.และปริมณฑล 70 ล้านบาท โดยตั้งแต่ต้นปีปล่อยสินเชื่อไปประมาณ 200 คัน วงเงินประมาณ 350,000 บาทต่อคัน อัตราดอกเบี้ยที่ 4.5-13% ขึ้นอยู่กับอายุของรถ และภายใน 3 ปีข้างหน้า จะเดินหน้าธุรกิจซื้อหน ี้ประเภทสินทรัพย์พร้อมขาย (NPA) ซึ่งเป็นหนี้ที่มีหลักประกันมาบริหาร โดยเริ่มจากซื้อหนี้บ้านและคอนโดมิเนียมราคา 1-2 ล้านบาทมาปรับปรุงและขาย ซึ่งต้องใช้เงินทุนสูง ทำให้บริษัทอาจต้องลงทุนเพิ่ม

"ต้นทุนการซื้อหนี้คิดเป็นประมาณ 5% ของมูลหนี้ทั้งหมด และมองว่าธุรกิจซื้อหนี้มาบริหารยังโตได้ต่อเนื่อง จากสถาบันการเงินปล่อย สินเชื่อมากขึ้น ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดหนี้เสียมากขึ้น แต่เรามีพอร์ตแค่ 20,000 ล้านบาท ซึ่งอนาคตก็น่าจะโตได้อีก และหลังจากที่ระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็จะทำให้เราซื้อหนี้มาบริหารได้มากขึ้น ดังนั้นจึงมั่นใจว่าหุ้นของบริษัทจะได้รับความสนใจ จากนักลงทุน เพราะรายได้ของบริษัทเติบโตสูงปีละไม่ต่ำกว่า 20% และ มีกำไรโตเฉลี่ย 50% ต่อปี เพราะเป็นธุรกิจที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงกว่า 50% ขณะที่มีการจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า 50%

นายปิยะ ยังกล่าวว่า เงินที่ได้จากการขายหุ้น ส่วนแรกจะนำไปลงทุนซื้อหนี้มาบริหารเพิ่ม โดยปีนี้มีแผนซื้อหนี้มาบริหารเพิ่มอีก 5,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มพอร์ตให้เป็น 25,000 ล้านบาท จากนั้นในปี 56 ตั้งเป้าซื้อหนี้เพิ่มเพื่อขยายพอร์ตให้เป็น 35,000 ล้านบาท และปี 57 จะเพิ่มเป็น 50,000 ล้านบาท และเงินอีกส่วนหนึ่งจะนำไปปล่อยสินเชื่อรถยนต์ ส่วนที่เหลือจะนำไปชำระคืนหนี้ ส่วนการรับจ้างตามหนี้ให้ สถาบันการเงินจะรักษาระดับที่ 10,000 ล้านบาท ไม่ขยายตัวมาก เพราะให้ผลอตอบแทนต่ำกว่าการลงทุนซื้อหนี้มาบริหารเอง ส่วนการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์นั้นบริษัทจะมีการขยายไปต่างจังหวัดมากขึ้น โดยไปตามสาขาของบริษัทแม่ ทั้งนี